Archive for the ‘>Medical device’ Category

Vivid E9

Posted: เมษายน 2, 2010 in >Medical device
ป้ายกำกับ:

Cardiovascular Ultrasound Vivid E9

Vivid E9 – GE’s Advanced Cardiac Ultrasound

GE’s Vivid E9 cardiac ultrasound was on display at the
Healthymagination launch event in Washington, D.C., to illustrate the
types of leaps in quality that can potentially infuse healthymagination
products going forward. It’s built for 4-D, which allows a doctor to see
movement in addition to 3-D views.

Wireless medicine.

Posted: มีนาคม 8, 2010 in >Medical device
ป้ายกำกับ:

เทคโนโลยี ไร้สายกับการนำมาใช้ในทางการแพทย์
Eric Topol (The Scripps Translational Science Institute) ในงาน TEDMED 2009

The future of medicine is wireless

A couple of weeks ago, the (then interim, now full-fledged) president and CEO of CardioNet, Randy Thurman, declared that the company is leading what we believe is a revolution in healthcare – wireless medicine. . . .

In summary, the convergence of healthcare and information technology is resulting in one of the most important trends for the next twenty years – wireless medicine – and CardioNet is uniquely positioned to capitalize on this unprecedented opportunity over the long term.

(These statements were made in the context of fourth quarter and year-end results–the company reported 65% revenue growth in 2008.)

CardioNet is a medical technology company that currently specializes in the remote diagnosis and monitoring of cardiac arrhythmias (an abnormality in the rate or rhythm of the heartbeat). Its Mobile Cardiac Outpatient Telemetry (MCOT), a portable wireless monitoring device, is designed to keep track of a person’s heartbeat 24/7 over an extended period of time as he or she goes about daily life.

Marketed as a service rather than as a product, the MCOT must be prescribed by a physician. The patient wears three chest leads attached to a small sensor that transmits data to the monitor. The monitor analyzes each heartbeat, and when it detects arrhythmias, it automatically sends the data to the CardioNet monitoring center; results are then communicated to the prescribing doctor. When the study period is over, the patient returns the MCOT device to CardioNet.

Source from : http://www.iftf.org/node/2580

The incredible beauty in the life of cells

Posted: มีนาคม 6, 2010 in >Medical device
ป้ายกำกับ:

The incredible beauty in the life of cells

This years GE Healthcare IN Cell Image competition winners were announced at the High Content Analysis (HCA) Conference in San Francisco, USA, last week. Each of the three regional winners, from Asia, Europe and North America, has won a trip to New York City in March 2010 to see their images shown on NBCs high-definition TV screen in Times Square.

For more information, please visit > http://newsroom.gehealthcare.com/

Cell Image Analyzer หรือเรียกย่อๆว่า CIA ในประเทศไทย

เป็นโครงการวิจัยร่วมระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์กับคณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จาก 3 ภาควิชา คือ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (ผศ.ดร.พรชัย พฤกษ์ภัทรานนต์) ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (ดร.สมชัย หลิมศิโรรัตน์) และ ภาควิชาพยาธิวิทยา (รศ.ปลื้มจิต บุณยพิพัฒน์)

เพื่อพัฒนาโปรแกรมนับจำนวนเซลล์มะเร็งเต้านมจากภาพถ่ายเนื้อเยื่อที่ย้อมสี แล้ว ดังภาพความสำคัญและที่มาปกติ แพทย์วินิฉัยความรุนแรงของโรคมะเร็งเต้านมด้วยการตรวจนับจำนวนเซลล์มะเร็ง จากเนื้อเยื่อที่ย้อมสีแล้วด้วยการส่องกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งเป็นงานที่หนัก และใช้เวลานานมาก เพราะในแต่ละสไลด์ อาจมีเซลล์มากกว่าพันเซลล์เช่นภาพด้านบน เป็นภาพที่ถ่ายมาเพียงบางส่วนของสไลด์ (ประมาณ 1 ใน 30-40 ส่วน) โดยมาก แพทย์จึงประมาณการอย่างคร่าวๆ แต่ในกรณีของผู้ป่วยหนัก หรือผู้ป่วยที่มีอาการไวต่อยามาก การให้ยาในปริมาณที่ค่อนข้างอันตรายจำเป็นต้องคำนวณปริมาณยาให้แม่นยำ การมีเครื่องมือช่วยนับจำนวนเซลล์มะเร็งจะสามารถช่วยงานแพทย์ได้อย่างมาก

More details see > http://isys.coe.psu.ac.th/?cat=23

มหิดลใช้คณิตศาสตร์ช่วยผ่าตัดบายพาส

ลดปัญหาผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจอุดตันซ้ำ
ทีมแพทย์และนักวิจัยมหิดลพัฒนาแบบจำลองคณิตศาสตร์ ช่วยผ่าตัดบายพาสผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ใช้ข้อมูลภาพซีทีสแกนสร้างหลอดเลือดจำลองเสมือนจริงได้สมบูรณ์แบบที่สุดในโลก ช่วยแพทย์เข้าใจปัญหาของโรคและเห็นการไหลของเลือด พร้อมออกแบบการทำบายพาสที่เหมาะสม เห็นผลการผ่าตัดก่อนลงมือจริง ช่วยลดปัญหาผู้ป่วยต้องเข้ารับการผ่าตัดใหม่
รศ.ดร.เบญจวรรณ วิวัฒนปฐพี อาจารย์ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับ ผศ.นพ.ทนงชัย สิริอภิสิทธิ์ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงผลสำเร็จของโครงการวิจัย “เทคนิคการจำลองแบบคณิตศาสตร์เพื่อช่วยการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ” ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (พญาไท) เมื่อต้นเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา
ผศ.นพ.ทนงชัย กล่าวว่า จากปัญหาการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจที่ผ่านมา ของศิริราชพยาบาลที่มีผู้ป่วยเฉลี่ยปีละกว่า 1,200 ราย พบว่า 25% ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดบายพาส จะต้องกลับมาเข้ารับการผ่าตัดใหม่อีกครั้งภายใน 1 ปี ขณะที่ผู้ป่วยอีกกว่า 50% ต้องกลับมารับการผ่าตัดใหม่อีกครั้งภายใน 10 ปี เพราะหลอดเลือดหัวใจอุดตันซ้ำ ซึ่งคาดว่าเป็นเพราะแพทย์ยังไม่เข้าใจกลไกและปัญหาของโรค รวมถึงผลที่เกิดจากการผ่าตัดบายพาสอย่างละเอียดลึกซึ้งมากพอ จึงได้ร่วมกับ รศ.ดร.เบญจวรรณ พัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อศึกษาสิ่งที่เกิดขึ้นในหลอดเลือดหัวใจทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด เพื่อช่วยในการวางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดเวลาก่อนลงมือผ่าตัดจริง
รศ.ดร.เบญจวรรณ อธิบายกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ว่า ได้นำข้อมูลจริงจากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจจำนวน 50 ราย มาพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และใช้ข้อมูลภาพซีทีสแกน (CT scan) มาสร้างแบบจำลองหลอดเลือดหัวใจเสมือนจริงสามมิติ และใช้เทคนิคพิเศษในการปรับแต่งผิวหลอดเลือดหัวใจให้เรียบ ทำให้ได้ภาพสามมิติเสมือนจริงของหลอดเลือดหัวใจที่มีแขนงหลอดเลือดสมบูรณ์ที่สุดในขณะนี้ เพื่อใช้อธิบายการไหลของเลือด แรงดันเลือด และแรงเค้นที่หลอดเลือด ได้อย่างเข้าใจและน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
“แบบจำลองคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น จะช่วยอธิบายกลไกการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยแต่ละรายได้ โดยแพทย์จะต้องวัดแรงดันและอัตราการไหลของเลือดในหลอดเลือดหัวใจมาใช้คำนวณในแบบจำลอง และนำภาพซีทีสแกนหลอดเลือดหัวใจมาสร้างแบบจำลองสามมิติ เพื่อศึกษากลไกต่างๆ ซึ่งจะทำให้แพทย์เข้าใจการไหลของเลือด แรงดันเลือด แรงเค้นที่ผนังหลอดเลือดของผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น แล้ววางแผนว่าควรจะทำการผ่าตัดบายพาสอย่างไรจึงจะเหมาะสมที่สุดในผู้ป่วยแต่ละราย” รศ.ดร.เบญจวรรรณ
“ในอดีตการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจอาศัยประสบการณ์ของแพทย์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งบางครั้งอาจทำให้การรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ทำให้ผู้ป่วยต้องกลับมาเข้ารับการผ่าตัดใหม่ภายในเวลาไม่ถึง 1 ปี แต่หลังจากนี้เราสามารถใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ช่วยในการวางแผนการรักษาที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิม แพทย์สามารถเห็นผลการรักษาก่อนการผ่าตัดจริงได้ และช่วยลดเวลาในการผ่าตัดบายพาสด้วย” ผศ.นพ.ทนงชัย กล่าว
ทั้งนี้ ทีมวิจัยใช้เวลาพัฒนาเทคนิคดังกล่าวมากว่า 2 ปี โดยได้รับทุนวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล 1.3 ล้านบาท และได้ตีพิมพ์ผลวิจัยในวารสารนานาชาติหลายฉบับ เช่น ไบโอเมดิคัล ไซน์ (Biomedical Science) และ แมทเทอมาติคัล ไบโอไซน์ แอนด์ เอนจิเนียริง (Mathematical Bioscience and Engineering)
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การใช้เทคนิคการจำลองแบบคณิตศาสตร์เพื่อช่วยการผ่าตัดบายพาสดังกล่าวจะต้องใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ แพทย์จึงจะลงมือผ่าตัดได้ แต่ทีมวิจัยจะพัฒนาต่อไปอีกเพื่อให้ใช้เวลาลดลงเหลือ 2-3 ชั่วโมง หรือถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นคือใช้เวลาเพียง 5-10 นาที เพราะผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน.

Source:โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

Balloon angioplasty

Your doctor has recommended that you undergo a balloon angioplasty with a stent implant. But what does that actually mean?
The heart is located in the center of the chest. It’s job is to keep blood continually circulating throughout the body.
The blood vessels that supply the body with oxygen-rich blood are called arteries.The arteries that supplies blood to the heart muscle itself are called coronary arteries.Sometimes, these blood vessels can narrow or become blocked by plaque deposits, restricting normal blood flow.
In simple terms, a balloon angioplasty with stent insertion is a procedure used to increase the amount of blood flowing through the coronary artery.
During a balloon angioplasty, a heart specialist will insert a thin tube into an artery in your arm or leg and gently guide it towards the problem area in your heart.
Once the tube is in place, a small balloon is briefly inflated in order to widen the narrowed artery.
A short length of mesh tubing called a stent is then inserted into the newly widened artery.During and after the procedure, your doctor will take x-rays in order to monitor your progress.

>http://www.PreOp.comPatient ED @ 617-379-1582 INFO

การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยการใช้บอลลูน
ปัจจุบันโรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดแดงโคโรนารีที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ (Coronary Artery Disease, CAD) เป็นโรคหัวใจที่พบได้บ่อย และเป็นสาเหตุการตายของผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยมักจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกหรือเหนื่อยง่ายเวลาออกกำลัง และในบางรายก็มีอาการเฉียบพลันเกิดหัวใจวายได้ซึ่งวิธีการรักษา โรคนี้ในปัจจุบันมีอยู่ 3 วิธี คือ การผ่าตัดนำหลอดเลือดที่ขา หรือหลอดเลือดแดงบางที่มาตัดต่อกับหลอดเลือดที่อุดตันทำทางเดินของเลือดใหม่ ซึ่งเราเรียกการผ่าตัดนี้ว่า Coronary Artery Bypass Graft (CABG)การใช้ยารักษาและการใช้บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจรวมถึงการใส่ขดเลือดในหลอดเลือดหัวใจด้วย
ในเดือนกันยายน ปี ค.ศ. 1977 นายแพทย์ชาวเยอรมันชื่อ Andreas Gruentzigได้ทำการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยการใช้บอลลูนขยายหลอดเลือดเป็นผลสำเร็จตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็มีการรักษาและพัฒนาวิธีการรักษาแบบใหม่นี้ ทำให้ได้ผลการรักษาที่ดีและยอมรับกันทั่วไป เรียกวิธีการรักษาแบบนี้ว่า Percutaneous Translumianl CoronaryAngioplasty (PTCA)
Percutaneous หมายถึง การรักษาโดยการเจาะรูผ่านทางผิวหนัง บริเวณขาหนีบเพื่อใส่สายสวน หัวใจเข้าไปTranslumianlหมายถึง การรักษานี้กระทำภายในหลอดเลือด (หรือท่อ)Coronary หมายถึงหลอดเลือด Coronary ที่ไปเลี้ยงหัวใจAngioplasty หมายถึง การรักษาด้วยการใส่สายสวนหัวใจที่มี balloon หรือลูกโป่งเล็กๆ อยู่บริเวณปลายของสายสวน ซึ่งบอลลูนนี้จะใส่เข้าไปในหลอดเลือดแดงที่ตีบอยู่ หลังจากนั้นแพทย์จะดันให้ลูกโป่งก็จะดันให้ลูกโป่งพองออกตรงตำแหน่งที่ตีบ แรงกดของลูกโป่งก็จะดันผนังหลอดเลือดที่ตีบนั้นให้ขยายออกทำให้เลือดสามารถไหลผ่านไปเลี้ยงหัวใจได้มากขึ้น
ข้อดีของการทำการขยายหลอดเลือดหัวใจทางหลอดเลือดแดงบริเวณ ข้อมือ (Radial artery)
ข้อดีของวิธีนี้คือ คนไข้สามารถลุกนั่งหรือเดินได้ทันทีหลังจากที่สวนหัวใจเสร็จแต่วิธีนี้ต้องอาศัยความชำนาญของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการขยายหลอดเลือดหัวใจอย่างมาก แตกต่างจากวิธีการสวนหัวใจเข้าทางขาหนีบคนไข้จะต้องนอนราบไม่งอขาข้างที่ทำเป็นเวลาอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
ทำไมต้องรักษาโรคหัวใจขาดเลือดด้วยวิธี PTCA ?
ก่อนทำ PTCA ได้แพร่หลายและนิยมกันมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทยก็ได้มีการรักษาโดยวิธี PTCA ในโรงพยาบาลใหญ่ๆ หลายแห่งทั้งของรัฐและเอกชน ระยะเวลาในการทำ PTCA เฉลี่ยส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 1/2 -1 1/2 ซม. ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของหลอดเลือดที่ตีบ และจำนวนของหลอดเลือดที่ตีบด้วย ข้อดีของการทำ PTCA คือการทำให้ผู้ป่วยหายจากการเจ็บหน้าอกได้อย่างรวดเร็ว และระยะเวลาพักฟื้นภายในโรงพยาบาลก็จะสั้นมาก ผู้ป่วยส่วนมากจะสามารถกลับบ้านได้ภายใน 1-2 วัน และกลับไปทำกิจกรรมหรืองานต่างๆ ได้ตามปกติภายใน 1 สัปดาห์ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดแล้วพบว่าผู้ป่วยต้องอยู่โรงพยาบาล 1-2 สัปดาห์ และกลับไปทำงานได้ตามปกติภายในประมาณ 3-4 สัปดาห์
พบปัญหาการทำ PTCA หรือไม่
สำหรับปัญหาในการทำบอลลูนในช่วงแรกๆ ที่สำคัญมีอยู่ 2 อย่างคือ การเกิดปิดของเส้นเลือดทันที (Abrupt Closure) หลังจากการทำ PTCA ซึ่งเกิดได้ ประมาณ 3-6 % และอาจจำเป็นต้องไปทำผ่าตัด CABG เป็นกรณีฉุกเฉินถ้าแก้ไขอะไรไม่ได้พบประมาณ 1% ของผู้ป่วยที่มาทำ PTCA และเกิดการตีบใหม่ (Rest enosis) ซึ่งเกิดขึ้นประมาณ 30-40 % และมักเกิดจากภายหลังการทำ PTCA 3-6 เดือนแรก
มีวิธีการลดการตีบใหม่ของหลอดเลือดหรือไม่ ?
ปัจจุบันมีการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการขยายหลอดเลือดหัวใจมาใช้กันมากขึ้น เพื่อลดการตีบซ้ำ (Restenosis) เช่น การใช้เครื่องมือตัดก้อนไขมัน หรือแคลเซียมในเส้นเลือด (Directional Coronary Arthrectomy, DCA) การใช้หัวกรอเพชร (Rotablator) การใช้ขดเลือดเล็กๆไปถ่างเส้นเลือดไว้ (Stent) หรือการใช้แสงเลเซอร์ร่วมกับการใช้ ballon เราอาจเรียกวิธีการขยายหลอดเลือดด้วยการใช้บอลลูนร่วมกับเครื่องมือใหม่ๆ เหล่านี้ว่า Percutaneous Coronary Intervention (PCT) และพบว่าการใช้ขดลวดเล็กร่วมกับบอลลูนอาจลดการตีบซ้ำใหม่ เหลือเพียง 10-20 % และสามารถแก้ไขการยุบตัวของหลอดเลือดได้ โดยลดอัตราเสี่ยงที่จะต้องส่งไปผ่าตัดเหลือน้อยกว่า 0.5 %
ผลสำเร็จของการทำด้วยวิธี PCI
อย่างไรก็ตาม การทำ PTCA ด้วยการใช้บอลลูนธรรมดาก็ยังเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ โดยมีการใส่ขดลวดร่วมด้วยมากกว่า 80 % และยังมีขดลวดแบบใหม่ที่สามารถลดการตีบแบบใหม่ ที่สามารถลดการตีบใหม่ลงเหลือน้อยกว่า 5 % อีกด้วย ผลการรักษาด้วยวิธี PCI นี้ ปัจจุบันมีผลสำเร็จตั่งแต่ 85-99% ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง โดยที่เราไม่สามารถใช้การรักษาแบบนี้ทดแทนการผ่าตัดได้ในบางกรณี
ดังนั้น แพทย์ผู้รักษาจะเป็นผู้แนะนำได้ดีที่สุดว่าควรจะให้การรักษาแบบใดในผู้ป่วยรายใด และภายหลังการรักษาแล้ว แพทย์จะอธิบายการปฏิบัติตัว หรือจำกัดกิจกรรมบางอย่าง รวมทั้งเกี่ยวกับการรับประทานยาและอาหารที่จำเป็น ดังนั้นการกลับมาพบแพทย์ตามนัดเป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะอาจต้องมีการตรวจบางอย่างอีกเพื่อให้แน่ใจว่าหลอดเลือดของหัวใจยังมีการไหลเวียนโลหิตได้ดี ทำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจนั้นสามารถมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
ขดลวดถ่างเส้นเลือดแบบพิเศษ ดีกว่าขดลวดธรรมดาอย่างไร?
การใช้ขดลวดแบบพิเศษ จะสามารถป้องกันการตีบใหม่ของหลอดเลือดได้มาก ปกติถ้าใช้ขดลวดธรรมดาในการตีบใหม่อยู่ที่ประมาณ 15-20 % แต่ถ้าใช้ขดลวดแบบพิเศษที่มียาเคลือบอยู่นี้ ส่วนใหญ่จะเป็นยาที่ออกฤทธิ์ ต้านการแบ่งตัวของเซลล์ ลักษณะคล้ายกับยาที่ใช้กับโรคมะเร็ง เพราะฉะนั้นถ้าใช้ขดลวดแบบมาตรฐานเกิดการตีบใหม่ประมาณ 10-20 % แต่ถ้าใช้ขดลวดแบบพิเศษปรากฏว่าการตีบใหม่ลดลง เหลือน้อยกว่า 5 % และพบว่าคนไข้จะไม่ค่อยมีปัญหาหลังจากทำไปแล้ว และก็ลดการที่ต้องมาทำใหม่อีกในช่วง 3-6 เดือนแรกที่จะมีการตีบใหม่ นั่นก็คือข้อดีของขดลวดแบบพิเศษที่มียาเคลือบอยู่

Source:>http://www.vibhavadi.com/web/health_detail.php?id=111

More Details see :>http://www.yourhealthyguide.com/article/ah-balloon.html

ขดลวดเคลือบยา

Posted: มิถุนายน 19, 2009 in >Medical device

Hemopurifier

Posted: มิถุนายน 4, 2009 in >Medical device

Aethlon Medical is the developer of the Hemopurifier®,

A first-in-class medical device to treat infectious disease. The Hemopurifier® addresses the largest opportunity in infectious disease, the treatment of drug and vaccine resistant viruses. Regulatory and commercialization initiatives in the United States are focused on bioterror threats, while international initiatives are directed towards naturally evolving pandemic threats, and chronic infectious disease conditions including Hepatitis-C (HCV) and the Human Immunodeficiency Virus (HIV). Collaborative studies to demonstrate utility of the Hemopurifier® are being conducted with researchers at the Government of India’s National Institute of Virology (NIV), The Centers for Disease Control and Prevention (CDC), The United States Army Medical Research Institute of Infectious Diseases (USAMRIID), and The Southwest Foundation for Biomedical Research (SFBR). Aethlon recently demonstrated safety of the Hemopurifier® in a 24-treatment human study and has received approval to continue further human studies at The Fortis Hospital in India. The Company has also submitted an Investigational Device Exemption (IDE) to the U.S. Food and Drug Administration (FDA) related to advancing the Hemopurifier® as a broad-spectrum treatment countermeasure against category “A” bioterror threats. Additional information on Aethlon Medical and its Hemopurifier® technology can be accessed at www.aethlonmedical.com.

หลอดสกัดเชื้อโรคในกระแสเลือด

ซานดิเอโก—(บิสิเนสไวร์)—2 พ.ย. 2549
บริษัทเอธลอน เมดิคอล อิงค์ (OTCBB:AEMD) ผู้นำในการพัฒนาอุปกรณ์รักษาโรคติดเชื้อ เปิดเผยในวันนี้ว่า นายเจมส์ เอ จอยซ์ ประธานและซีอีโอ ได้เขียนรายงานเรื่อง การรักษาโรคไข้เลือดออก (The Treatment of Dengue Hemorrhagic Fever) โดยเนื้อหาของรายงานมีดังนี้
สรุปใจความสำคัญ ไวรัสไข้เลือดออกและโรคไข้เลือดออกชนิดรุนแรง (DHF) เป็นประเด็นด้านสุขภาพระหว่างประเทศที่ยังคงไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาต้านไวรัสแบบดั้งเดิมและการรักษาด้วยวัคซีน รายงานนี้สรุปการใช้ Aethlon Hemopurifier(TM) เป็นอุปกรณ์การรักษาแบบมีฤทธิ์กว้าง (broad-spectrum) ที่สามารถขจัดไวรัสไข้เลือดออกจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อและมีแนวโน้มช่วยลดการอักเสบที่เกี่ยวกับโรค DHF การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกทั่วโลกได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา โดยในขณะนี้โรคดังกล่่่่่าวเป็นโรคเฉพาะท้องถิ่นในกว่า 100 ประเทศ โดยองค์การอนามัยโลกระบุว่ามีการติดเชื้อโรคไข้เลือดออกจำนวนมากถึง 50 ล้านรายในแต่ละปี
ความเป็นมาของเครื่อง Hemopurifier(TM) เชื้อไวรัสจำนวนมากรวมถึงไข้เลือดออกนั้น ไม่สามารถรักษาด้วยยาต้านไวรัสหรือการรักษาด้วยวัคซีน เมื่อการรัีกษามีการพัฒนา ไวรัสต่างๆมักจะกลายพันธุ์จนดื้อต่อการรักษา ไวรัสซึ่งข้ามจากสายพันธุ์สัตว์มาสู่มนุษย์นั้นเพิ่มความท้าทายในการรักษา โดยตัวอย่างที่ผ่านมาของเชื้อโรคที่ติดต่อจากสà
¸±à¸•à¸§à¹Œ (zoonotic transmission) นั้น ได้แก่ HIV, SARS, West Nile, Ebola, Marburg และล่าสุดได้แก่เชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 การดัดแปลงพันธุกรรมของไวรัสโดยมีจุดประสงค์เพื่อการรักษาโรคที่ดื้อต่อยาและวัคซีนนั้น จะลดความเป็นไปได้ของการรักษาแบบดั้งเดิม Aethlon Hemopurifier(TM) เป็นอุปกรณ์ชั้นหนึ่งที่ได้รับการออกแบบเพื่ออุดช่องโหว่ในการรักษาโรคที่ดื้อต่อยาและวัคซีน เทคโนโลยีดังกล่าวจะเพิ่มประโยชน์ของการรักษาด้วยยา และจะเป็นมาตรการรับมือขั้นแรกในกรณีที่ไม่มีการรักษาด้วยยาหรือวัคซีน เทคโนโลยีดังกล่าวรวมหลักการของการฟอกเลือดที่สร้างขึ้นในไตเทียม(hemodialysis) และการทำ plasmapheresis ด้วยการใช้สาร affinity agents ซึ่งจะจับเปลือกไวรัส (envelope viruses) ด้วยโครงสร้าง surface carbohydrate ที่มีการพัฒนาเพื่อหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ ผลก็คือ อุปกรณ์ Hemopurifier(TM) จะสามารถลดไวรัสที่ติดเชื้อและสารพิษที่เกี่ยวข้องในร่างกาย และจะเพิ่มความเป็นไปได้ที่ภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยจะสามารถขจัดการติดเชื้อได้เอง เอธลอนได้เสร็จสิ้นการศึกษาความปลอดภัยในการรักษา 24 กรณีของอุปกรณ์ Hemopurifier(TM) ในการฟอกเลือดผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ-ซีร่วมด้วย โดยการศึกษาดังกล่าวจัดทำขึ้นที่โรงพยาบาลอะพอลโลในกรุงนิว เดลี ประเทศอินเดีย จากข้อมูลผลการศึกษาที่ได้นำไปสู่การยื่นขอยกเว้นการตรวจสอบอุปกรณ์ขั้นต้น (Investigational Device Exemption) จาà¸
à¸ªà¸³à¸™à¸±à¸à¸‡à¸²à¸™à¸­à¸²à¸«à¸²à¸£à¹à¸¥à¸°à¸¢à¸² (FDA) ที่เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ Hemopurifier(TM) ในสหรัฐเพื่อรักษาแบบให้ฤทธิ์กว้างต่อภัยคุกคามของอาวุธชีวภาพประเภท A และโรคไข้หวัดใหญ่ระบาด เอธลอนวางแผนที่จะดำเนินโครงการด้านการแพทย์ต่อไปในประเทศอินเดีย และได้เริ่มหารือกับสภาศูนย์วิจัยการแพทย์แห่งอินเดีย (ICMR) และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวกับการรักษาโรค DHF และโรคไวรัสอื่นๆ โดยเฉพาะในกรุงนิวเดลีแห่งเดียวนั้น ผู้ป่วย 67 คนจาก 2,640 คนที่ติดเชื้อไข้เลือดออกนับตั้งแต่ปลายเดือนก.ค.ได้เสียชีวิตแล้ว
อันตรายของโรคไข้เลือดออก DHF เป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่ร้ายแรงที่สุดสำหรับมนุษย์ โดยการติดเชื้อ DHF ถ่ายทอดจากยุงที่มีเชื้อไวรัสไข้เลือดออก (serotypes 1- 4) โดยรูปแบบที่รุนแรงของโรคนี้ซึ่งได้แก่ Dengue Hemorrhagic Fever – Dengue Shock Syndrome (DHF/DSS) เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการส่งตัวเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตของเด็กๆในภูมิภาคเอเชียโดยมีอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยประมาณ 17% นับตั้งแต่มีการอธิบายการศึกษาต้นกำเนิดของโรคไข้เลือดออกในปี 2487 นั้น ก็ได้มีความพยายามอย่างมากที่จะพัฒนาวัคซีน โดยเผชิญกับความท้าทายในการพัฒนาอย่างมาก ความท้าทายดังกล่าวรวมถึงข้อเท็จจริงที่ว่า การติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกของ subtype หนึ่งจะเพิ่มความรุนแรงของโรคที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อของอีก subtype หนึ่ง การติดเชื้อครั้งแรกทำให้เป็นโรคไข้เลือดออกที่ไม่รุนแรง แต่การติดเชื้อที่ตามมา หากเป็นการติดเชื้อจากอีก subtype หนึ่ง จะทำให้เป็นโรคไข้เลือดออกชนิดรุนแรง (DHF/DSS) และการติดเชื้อครั้งที่สามจาก subtype ตัวที่ 3 นั้น ส่วนใหญ่มักจะทำให้เสียชีวิต นอกเหนือจากผลกระทบโดยตรงของการติดเชื้อไวรัสนั้น DHF แบบก้าวหน้าสามารถก่อให้เกิดภาวะ viral sepsis ที่นำไปสู่การผลิต cytokines ที่อันตรายจำนวนมากเกินไป และมีหลักฐานว่าอà¸
จเกี่ยวข้องกับการสร้าง alpha และ beta interferon (IFN-alpha) รวมถึง gamma IFN (IFN-beta) ด้วย ดังนั้น การพัฒนาการรักษา DHF ที่มีประสิทธิภาพจึงยังคงเป็นเรื่องยาก
การใช้ Hemopurifier(TM) สำหรับการรักษาโรค DHF Hemopurifier(TM) ได้รับการออกแบบเพื่อแยกและจับไวรัสซึ่งทำให้่เกิดโรคและภัยคุกคามใหม่ๆของเชื้อไวรัส โดยในปัจจุบัน Hemopurifier เป็นเพียงการรักษาเดียวสำหรับโรค DHF ซึ่งมีเป้าหมายในการกำจัดไวรัสไข้เลือดออกในเวลาเดียวกันและยังช่วยลดการสร้าง cytokine ที่มากเกินไปด้วย โดยการพัฒนา Hemopurifier เพื่อการรักษา DHF นั้นสอดคล้องกัยกลยุทธ์องค์กรของเอธลอนเพื่อร่วมมือกับรัฐบาลและองค์กรเอกชนเพื่อพัฒนา Hemopurifier เป็นการรักษาที่ให้ฤทธิ์กว้างสำหรับเชื้อโรคที่ดื้อต่อยาและวัคซีนสำหรับการรักษาเฉพาะ DHF นั้น อุปกรณ์ Hemopurifier(TM) จะเป็นวิธีการแบบ extracorporeal เพื่อเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน โดยเพิ่มความเป็นไปได้ที่ระบบภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติจะสามารถเอาชนะการติดเชื้อ
คุณสมบัติและการพิจารณาใช้ Hemopurifier(TM) เพื่อรักษา DHF ได้แก่
การกำจัด DHF อย่างรวดเร็ว – สาร affinity agents ที่เป็นตัวจับยึดภายใน Hemopurifier(TM) นั้นมีขีดความสามารถที่ให้ฤทธิ์กว้างในการจับเปลือกไวรัสโดยผูกเข้ากับโปรตีน glycosolated ซึ่งอยู่บนผิวหน้าของไวรัส ในกรณีของ DHF นั้น การจับไวรัสกระทำโดยตรงที่ผิวหน้า glycoproteins ซึ่งเป็น binding sites แม้ในกรณีที่ไวรัสกลายพันธุ์ ในการทดสอบเบื้องต้นนั้น สาร affinity agent ใน Hemopurifier(TM) แสดงความสามารถในการที่จะผูกกับผิวหน้าโปรตีนของเชื้อไข้เลือดออก ความสามารถที่จะกำจัดเชื้อไข้เลือดออกและชิ้นส่วนไวรัสก่อนที่จะิติดเชื้อที่เซลล์และอวัยวะนั้นมีแนวโน้มที่จะสกัดกั้นการพัฒนาของโรค โดยในส่วนที่เกี่ี่ยวกับขีดความสามารถในการออกฤทธิ์
กว้างนั้น Hemopurifie แสดงให้เห็นถึงการจับเชื้อไวรัส HIV, HCV และ orthopox ที่เกี่ยวข้องกับโรคไข้ทรพิษ คณะวิจัยของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ (NCI) และสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) ได้บ่งชี้ว่า รูปแบบของสาร affinity agents ใน Hemopurifier นั้น มีความสามารถในการต่อต้านเชื้อไวรัสอื่นๆด้วยได้แก่ Marburg, Ebola และไข้หวัดใหญ่
การกำจัด Cytokines ในวงกว้าง – โครงสร้างของ Hemopurifier(TM) จะช่วยลดการผลิต cytokines จำนวนมากเกินไป โดยเทคนิค hemofiltration นั้นเป็นการรักษา cytokine ที่ก่อให้เกิดภาวะ sepsis มาตั้งแต่ปี 2533 แล้ว ดังนั้น Hemopurifier(TM) อาจเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่จะช่วยลด cytokine เนื่องจากรูไฟเบอร์ของ Hemopurifier(TM) มีขนาดใหญ่พอที่จะขจัด cytokines ที่ไม่สามารถกำจัดได้ใน Hemofiltration
Aethlon Hemopurifier(TM) จะเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ที่ติดเชื้อ DHF โดยการแพร่ระบาดตามฤดูกาลของโรคไข้เลือดออกกำลังดำเนินไปในภูมิภาคต่างๆทั่วโลกในขณะนี้ รวมถึงอินเดียซึ่งกำลังเกิดการติดเชื้อโรคไข้เลือดออกที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2539 ในกรณีที่ไม่มีวัคซีนและยาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพ บริษัทเอธลอน เมดิคอลจะร่วมมือกับหน่วยงานด้านสุขภาพของรัฐบาลต่างๆเพื่อหาทางพัฒนา Hemopurifier(TM) เป็นทางเลือกในการรักษาสำหรับประชาชนที่ติดเชื้อ DHF
เกี่ยวกับเอธลอน เมดิคอล เอธลอน เมดิคอล ได้พัฒนาอุปกรณ์การแพทย์ชั้นหนึ่งเพื่อรักษาโรคติดเชื้อ โดยอุปกรณ์ดังกล่าวซึ่งได้แก่ Hemopurifier(TM) นั้น เป็นอุปกรณ์การรักษาที่ให้ฤทธิ์กว้างสำหรับเชื้อโรคที่ดื้อยาและวัคซีน ซึ่งเป็นโรคระบาดที่มีวิวัฒนาการตามธรรมชาติ อาทิ ไวรัสไข้หวัดนก H5N1 และโรคติดเชื้อเรื้อรัง รวมถึงไวรัสตับอักเสบ-ซี (HCV) และไวรัส Human Immunodeficiency Virus (HIV) บริษัทวิจัยระดับโลก Frost & Sullivan ได้มอบรางวัล Technology Innovation Award 2006 ให้กับ Hemopurifier(TM) สำหรับความก้าวหน้าในด้านการป้องกันทางชีวภาพ เอธลอนได้ริเริ่มการวิจัย Hemopurifier(TM) รุ่นที่ 2 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อจับปัจจัยการขยายตัวในการแพร่กระ
จายของโรคมะเร็ง
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอธลอน เมดิคอลและเทคโนโลยี Hemopurifier(TM) นั้ั้้้นสามารถดูได้จากเว็บไซต์ www.aethlonmedical.com

iPhone OS 3.0 and Medical Devices

Posted: มิถุนายน 4, 2009 in >Medical device

Apple presented the blueprint for iPhone OS 3.0, the next version of their
advanced mobile platform. They showed some really cool new features for the
iPhone and iPod Touch, but particularly interesting to me was their enthusiasm about medicine and medical devices.

ม.มหิดลเจ๋งวิจัย-พัฒนา’ไอพีจี’สำเร็จ (เดลินิวส์ 3 มี.ค.)
“ม.มหิดล”สุดเจ๋ง!วิจัยและพัฒนาเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าชนิดฝังลงในร่างกาย หรือ ไอพีจีสำเร็จ เป็นอีกทางเลือกของการบรรเทาโรคของผู้ป่วย ช่วยคนหูหนวกให้ได้ยิน บรรเทาอาการสั่นของโรคพาร์คินสัน โรคลมชักอาการเจ็บปวดเรื้อรัง การควบคุมร่างกายของผู้ป่วยอัมพาต ราคาถูกกว่าต่างประเทศหลายเท่าตัว พร้อมทดสอบกับผู้ป่วยที่สนใจในปี 2553 ที่ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณนที รักษ์พลเมือง สำนักงานอธิการบดี มหา วิทยาลัยมหิดล ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นคร ปฐม เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 2 มี.ค. ศ.คลินิก นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร อธิการบดีมหา วิทยาลัยมหิดล ดร.เซง เลิศมโนรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และหัวหน้าโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าชนิดฝังลงในร่างกาย (IMPLANTABLE PULSE GENENATOR หรือ IPG) ร่วมแถลงผลงานการวิจัยและพัฒนา เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าชนิดฝังลงในร่างกาย เพื่อช่วยกระตุ้นระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งของการบรรเทาโรคที่ดีที่สุดสำหรับโรคที่ ยังไม่มียารักษา และเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อขับปัสสาวะ สำหรับผู้ป่วยอัมพาต ซึ่งได้รับรางวัล “Neural Engineering Excellence Award, the 2nd International IEEEEngineering in Medicine and Biology Society Conference on Neural Engineering, rlington, USAเมื่อปี พ.ศ. 2548” ศ.คลินิก นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า หลักการคือใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าแบบฝังลงในร่างกาย ส่งสัญญาณไฟฟ้าไปกระตุ้นระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อในจุดที่ต้องการ ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการของโรคต่าง ๆ เช่น ช่วยคนหูหนวกให้ได้ยิน โดยการกระตุ้น COCHLEAR การบรรเทาอาการสั่นของโรคพาร์คินสัน โดยการกระตุ้นสมองการบรรเทาอาการโรคลมชัก โดยการกระตุ้นเส้นประสาท VAGUS การกระตุ้นไขสันหลังเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดเรื้อรัง การควบคุมร่างกายของผู้ป่วยอัมพาต เช่น การยืน การเดิน การหายใจ การขับปัสสาวะโครงการนี้เกิดจากความร่วมมือของ 6 คณะ คือ คณะวิศว กรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ คณะกายภาพบำบัด คณะแพทย์ศาสตร์รพ.รามาธิบดี และศิริราชพยาบาล เครื่อง IPG นี้ได้พัฒนาเทคโนโลยีมาจากเครื่องกระตุ้นของต่างประเทศ แต่ดีกว่าที่ไม่ต้องผ่าตัดเปลี่ยนถ่านทุกปี ที่สำคัญราคาถูกกว่าหลายเท่าตัว และพร้อมที่จะทดสอบกับผู้ป่วยที่สนใจในปี 2553 ภายใต้การดูแลของคณาจารย์จากคณะแพทย์ศาสตร์ทั้งจากรามาธิบดีและศิริราชอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวต่อว่า นอกจากเครื่อง IPG แล้ว คณะวิศว กรรมศาสตร์และกายภาพบำบัดยังได้พัฒนาเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า สำหรับช่วยบำบัดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีความพิการหลงเหลืออยู่ ได้แก่ อัมพฤกษ์ อัมพาต กล้ามเนื้อลีบ ฝ่อ และเกร็ง ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย การกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วย ไฟฟ้า จะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นฟูร่างกายได้ หากได้รับการกระตุ้นกล้ามเนื้อแต่เนิ่น ๆ ที่สำคัญคือมีขนาดเล็กกะทัดรัด พกพาไปได้ทุกสถานที่ราคาถูกกว่า ของต่างประเทศกว่า 300% ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดลองใช้ที่คณะกายภาพบำบัดมหา วิทยาลัยมหิดล และ รพ.ศิริราช ภายในสิ้นปีนี้จะได้ผลิตและมอบให้กับ รพ.ของรัฐได้นำไปทดลองใช้และคาดว่าอนาคตผู้ป่วยอาจจะสามารถ มีเครื่อง ไว้ใช้ในบ้านตัวเอง.

ที่มา
1.เครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้ออ่อนแรง ผลงาน ดร.เซง เลิศมโนรัตน์ ->>สำนักข่าวไทย
2.ดู>>ข่าวย้อนหลังที่: http://news.impaqmsn.com/articles.aspx?id=252283&ch=gn1
3.กลไกทำงานวิชาการแบบสหวิทยาการ
>Source: http://gotoknow.org/blog/council/197635

Ventricular Assist Device

Posted: พฤษภาคม 15, 2009 in >Medical device
ป้ายกำกับ:

NASA Destination Tomorrow Segment about the DeBakey Heart Pump designed by NASA engineers that extends the life of heart failure patients.

Bood Glucose Monitoring

Posted: เมษายน 30, 2009 in >Medical device
ป้ายกำกับ: